วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ชมดนตรีจีนรวมมิตรบางหลวงที่ตลาดบางหลวง ร.ศ.122 ทุกวันเสาร์อาทิตย์ 1300-1400

   ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ ได้รับการเรียกขานว่า “บ้านเก่า เหล่าเต๊งไม้” เป็นชุมชนเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายจีน ตั้งอยู่ที่ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำท่าจีนตอนบน (แม่น้ำสุพรรณบุรี) ปัจจุบันสภาพตลาดบางหลวงยังคงความงดงามของสถาปัตยกรรมและบรรยากาศของตลาดเก่าแก่ริมน้ำท่าจีน ลักษณะ เป็นเรือนไม้สองชั้นหันหน้าเข้าหากันเรียงรายต่อกัน ตลาดบางหลวง ร.ศ.๑๒๒ ถือเป็นตลาดเก่าอีกแห่งที่ยังสามารถคงความสมดุลระหว่างวิถีชุมชนและการท่องเที่ยว
ที่มา : mgronline.com

   วงดนตรีจีนคณะรวมมิตรบางหลวง
   ดนตรีจีนที่ชุมชนบางหลวงเดิมได้รับความนิยม  แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความนิยมเริ่มลดน้อยลง ผู้ที่สามารถเล่นดนตรีจีนได้มีจำนวนลดลงน้อยด้วย ดังมีกล่าวถึงในบทความรวิจัย เรื่องภูมิปัญญาดนตรีจีนชุมชนบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (Chinese Music Wisdom in Bang-Luang Community Bang-Luang District,Nakhon Pathom Province .) โดย ปิยนาถ อิ่มดี ความตอนหนึ่งว่า

 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 มีคนไปพบเครื่องดนตรีจีนในโรงเจบ้วนฮกตึ๊ง และมีแนวคิดที่จะฟื้นฟูดนตรีจีนของชุมชนขึ้นมา เพื่อให้ดนตรีจีนของชุมชนกลับมามีชีวิตอีกครั้งและมีการบริหารจัดการงบประมาณและการทำงานในการฟื้นฟูดนตรีจีนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้ก่อตั้งวงดนตรีจีนของชุมชนตลาดบางหลวงที่มีชื่อว่า “วงรวมมิตรบางหลวง” ขึ้นมา 



 การศึกษาประวัติความเป็นมาของดนตรีจีนบางหลวง พบว่า ดนตรีจีนบางหลวงมีประวัติการเล่นที่ยาวนาน ประมาณไม่ต่ำกว่า 80 ปี เกิดขึ้นโดยชาวจีนในชุมชนทั้ง 3 กลุ่มที่มีความสามารถทางดนตรีมารวมตัวกันเล่นดนตรีในช่วงเย็น วัตถุประสงค์เพื่อให้คลายความคิดถึงบ้านของคนจีนที่อพยพมา ต่อมากลุ่มของอาจารย์กิมตี้แซ่ไหล ได้ก่อตั้งวงดนตรีจีนของชุมชนตลาดบางหลวงขึ้น โดยใช้เครื่องดนตรีจีนส่วนตัวที่นำติดตัวมาจากเมืองจีนบางคนก็สั่งซื้อเครื่องดนตรีจีน ด้วยการฝากเพื่อนที่เดินทางกลับประเทศจีนซื้อกลับมาให้ ประมาณปี พ.ศ. 2526 ดนตรีจีนได้รับความนิยมน้อยลง ผู้ที่สามารถเล่นดนตรีจีนได้มีจำนวนลดลงน้อย จึงทำให้วงดนตรีจีนของชุมชนเริ่มสูญหายไป


   จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2547 มีคนไปพบเครื่องดนตรีจีนในโรงเจบ้วนฮกตึ๊ง และได้มาบอกกับกลุ่มรักดนตรีจีน ได้แก่ อาจารย์พิบูลย์ เลิศมโนรัตน์คุณวิรุฬเหลี่ยววงศ์ภูธร อาจารย์ชาลีศรีพุทธาธรรม ฯลฯ จึงได้ปรึกษาหารือกันถึงวิธีการฟื้นฟูดนตรีจีนของชุมชนบางหลวงเพื่อให้ดนตรีจีนของชุมชนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง จึงได้ขอเงินสนับสนุนจากสมาคมศิษย์เก่าของโรงเรียนเจี้ยนหัว จำนวน 40,000 บาท จัดซื้อเครื่องดนตรีจีน (ฝ่ายบุ๋น) ให้กับชุมชน และมีการบริหารจัดการงบประมาณและการทำงานในการฟื้นฟูดนตรีจีนขึ้นและได้ก่อเกิดวงดนตรีจีนของชุมชนตลาดบางหลวงที่มีชื่อว่า“วงรวมมิตรบางหลวง”เป็นต้นมานอกจากนี้ยังมีผู้นำชุมชนหลายๆ ท่านเช่นผู้ใหญ่สมศักดิ์ อยู่มากที่ให้ความสนใจและมีส่วนสำคัญในการฟื้นฟูและอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีจีนให้สืบทอดสู่คนรุ่นหลังต่อไป จึงได้จัดหาสถานที่ให้เด็กได้ใช้เวลาว่างมาฝึกเล่นดนตรีจีนที่บ้านดนตรีจีนสมาชิกวงดนตรีรวมมิตรบางหลวงนั้นมีจำนวนมากกว่า 100 คน แต่เนื่องจากสมาชิกเป็นนักเรียน เมื่อจบการศึกษาจะไปศึกษาต่อที่โรงเรียนอื่นทำให้สมาชิกต้องออกไปเนื่องจากไม่มีเวลาเรียนส่งผลให้วงดนตรีมีปัญหาในเรื่องสมาชิกไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องครูที่จะสอนดนตรีจีนอีกด้วย 

   วงรวมมิตรบางหลวงได้จัดกิจกรรมร่วมกับท้องถิ่นขึ้นหลายกิจกรรม อาทิเช่น สอนดนตรีจีนให้เด็กและเยาวชนในชุมชน ร่วมแสดงดนตรีจีนในงานวันเกิดเจ้าแม่ทับทิมงานแห่ธงตรุษจีน งานแสดงงิ้ว และงานเทศกาลกินเจ นอกจากนั้นยังเป็นงานอื่นๆ ทั้งงานแต่งงาน งานแสดงความเคารพศพ ส่งศพถึงสุสาน เป็นต้น โดยไม่เรียกร้องค่าจ้างหรือค่าตอบแทนเลย ด้วยการแสดงดนตรีจีนในงานต่างๆ นั้นทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวที่มาเยือน วงดนตรีจีน “รวมมิตรบางหลวง”  เอกลักษณ์สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง “รวมมิตรบางหลวง”คือการใช้โน้ตดนตรีจีนโบราณ ที่มีอายุมากกว่า 4,000 ปี เป็นตัวอักษรจีน

โดยมีการแสดงในทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา 13.00-14.00 


   ขอเชิญชมเสียงดนตรีจีนที่เป็นเอกลักษณ์ที่ตลาดบางหลวง ร.ศ.122 ที่ปัจจุบันได้รับการส่งเสริมโดยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้เป็นตลาดต้องชมแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีที่ตั้งไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก



วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2560

ตลาดบางหลวง ร.ศ.122 ที่บางเลน และนิราศสุพรรณ

   เรื่องราวของตลาดบางหลวง ร.ศ.122 ที่บางเลน จังหวัดนครปฐม มีการกล่าวถึงด้วยถ้อยคำที่งดงามในนิราศสุพรรณ ซึ่ง นิราศสุพรรณ ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นในระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสระเกศ (ประมาณ พ.ศ. 2374) เมื่อครั้งยังบวชอยู่ และเดินทางไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง มีบทที่กล่าวถึงตลาดบางหลวง ดังนี้ 


   ทั้งนี้ ชุมชนตลาดบางหลวง ร.ศ.122 ได้เห็นคุณค่าวรรณกรรมเก่าแก่ที่ทรงคุณค่านี้ จึงได้จัดทำเป็นรูปภาพให้ผู้ที่เดินทางมาเที่ยวที่นี่ได้พบเจอและได้ความรู้ถึงความเกี่ยวข้องทางวรรณกรรมกับชุมชนแห่งนี้




สำหรับฉบับเต็ม สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.suphan.biz/soonthornpoo.htm  หรือ ที่
โคลงนิราศสุพรรณ ของสุนทรภู่ ฉบับสมบูรณ์
โดยสถานที่ต่าง ๆ ที่ถูกกล่าวถึง มีการสรุปเป็นตาราง ตามลิ้งที่อยู่นี้ 

   เพื่อให้เห็นถึงสถานที่จริง จึงได้จัดทำเป็นแผนที่โดยคร่าว ให้ผู้ที่พบเห็นได้จินตนาการตามนิราศฉบับนี้ ดังรูป (ผิดพลาดประการใดต้องขออภัย ณ ที่นี้)



เข้าถึงแผนที่ทาง Google Map ได้ที่นี่